มาทำความรู้จัก D/E กัน
มาทำความรู้จัก D/E กัน
D/E ratio คืออัตราส่วนทางการเงินอีกตัวที่มีประโยชน์มากๆและจะทำให้เราพอเจ้าใจภาพธุรกิจได้บ้างเช่นกัน D คือ Debt หรือหนี้สิน E คือ Equity หรือส่วนของเจ้าของ เหมือนนำมาคิดเป็น D/E ratio เราจะเห็นว่าเป็นการเปรียบเทียบ หนี้สิน และ ส่วนของเจ้าของ ซึ่งหากมองง่ายๆก็จะเข้าใจว่า อะไรมากกว่ากัน เช่นถ้าหนี้สิน มากกว่า ส่วนของเจ้าของ อัตราส่วนนี้จะออกมามากกว่าหนึ่ง และหากเท่ากัน D/E จะเท่ากับ 0 หรือถ้าหนี้สินน้อยกว่าส่วนของผู้ถือหุ้นก็จะน้อยกว่าหนึ่ง
หนี้ที่นำมาคิดนั้นเป็นทั้งหนี้สินระยะสั้นและหนี้สินระยะยาว โดยส่วนมากนั้นหนี้ระยะสั้นหรือพวก credit จากการขายสินค้าจะไม่มีภาระดอกเบี้ย และหนี้สินระยะยาวจะเป็นหนี้ที่มีดอกเบี้ย แต่ด้วยอัตราส่วน D/E นี้เราเอาทั้งหมดมาคิดไม่ว่าจะเป็นระยะสั้นหรือยาว ซึ่งมันทำให้เราเห็นภาพหนี้สินทั้งหมดที่มีอยู่จริงๆไม่ว่าจะมีดอกเบี้ยหรือไม่เพราะเราก็คงเลี่ยงที่จะต้องชำระคืนเบี้ยทั้งหลายเหล่านั้น ดังนั้นเราสามารถใช้เลขหนี้สินทั้งหมดได้เลย (ส่วนตัวก็อยากให้เอาหนี้สินทั้งหมดมาคิดแทนที่จะเป็นหนี้สินระยะยาวอย่างเดียว)
ทีนี้เรารู้แล้วว่าคิดออกมาแล้ว น้อยกว่าหนึ่ง เท่ากับหนึ่ง หรือมากกว่าหนึ่งมันคิดมาจากอะไร แต่อาจจะยังมองภาพไม่ออกกันว่าแล้วมันดีหรือไม่ดียังไง ส่วนตัวผมมองว่าการที่หนี้น้อยกว่านั้นดีกว่าแน่นอนครับ ทำไมน่ะหรอครับ เพราะว่าภาระดอกเบี้ยมันน้อยกว่า แถมในอนาคตหากต้องการจะกู้เพิ่มเติมก็สามารถทำได้ไม่ยาก เพราะสัดส่วนหนี้สินอยู่ในระดับต่ำ การไปแข่งขันกับบริษัทในธุรกิจเดียวกันที่มีหนี้เยอะกว่าบริษัทที่มีหนี้น้อยกว่าจะสามารถกู้มาแข่งขันได้ง่ายกว่าครับ สำหรับผมเองผมชอบบริษัทที่ D/E ต่ำกว่า ยิ่งต่ำกว่า 1 ยิ่งดีเพราะว่า ในเมื่อต้นทุนทางการเงินต่ำ (หนี้น้อยไม่ต้องเสียดอกเบี้ยเยอะ) ในกรณีแย่สุด ก็ไม่ต้องไปแบกดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายทุกๆวัน
แต่ในบางกลุ่มธุรกิจ D/E จะสูงมากๆ เช่นกลุ่มการเงิน ไม่ว่าจะเป็นธนาคาร หรือว่าประกัน หรือแม้แต่ leasing เพราะโดยปกติกลุ่มนี้ทำเป็นต้องยืมเงิน (เงินฝากของเรา = หนี้สินของธนาคาร) มาต่อเงิน เอาเงินที่เราไปฝากๆกันนั้นไปปล่อยกู้ต่อ ดังนั้น D/E ในกลุ่มนี้จะสูง หากเอาเกณฑ์ D/E ต้องน้อยกว่า 1 หุ้นในกลุ่มนี้แทบจะเรียกได้ว่าลบทิ้งออกไปหมดครับ
สรุปว่า D/E เป็น ratio ตัวนึงที่มีประโยชน์แต่สิ่งที่เราจำเป็นต้องเข้าใจคือโครงสร้างและวิธีการดำเนินธุรกิจครับ ตัวเลขคำนวณไม่ยากเปิดในเว็บดูได้เลย แต่สิ่งที่ยากคือความหมายของตัวเลขเหล่านี้กำลังจะบอกอะไรเรา ในฐานะนักลงทุนเราจำเป็นต้องเข้าใจตัวเลขพวกนี้ให้ดีๆเพื่อให้การลงทุนของเรานั้นประสบความสำเร็จมากๆครับ
สิ่งเล็กๆที่เรียกว่าหุ้น
#อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนผู้ถือหุ้น #D/E #การลงทุนในหุ้น